วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

แผนรองรับฉุกเฉินกรณีกรุงเทพน้ำท่วม !!!

ช่วงนี้ดูข่าวก็เห็นว่า มีแววน้ำท่วมเข้ากรุงเทพแน่นอน เห็นทีว่าแค่กำลังทหารและประชาชนคงมีไม่พอแล้วถ้าปริมาณน้ำขนาดนี้ (อย่าไปพูดถึงรัฐเลยเนอะ ไม่เห็นกันอยู่ หึ)

ดังนั้นจึงมีผู้เขียนแผนรองรับอันนี้ขึ้นมา  SmiLelY อ่านแล้วก็เห็นว่าเป็นแผนที่ดีเหมือนกัน

ก็เลยเอามาแชร์ให้ดู เพื่อว่าเพื่อนๆ พี่ๆ จะเอาไปปรับใช้กับตัวเองได้ ลองอ่านดูนะ



เขียนโดย คุณคณานันท์ ทวีโภค รักในหลวง เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2011 เวลา 17:31 น.

          เป็นแผนรองรับกรณีฉุกเฉินหากเกิดสถานการณ์น้ำท่วมรุนแรงในเขตกรุงเทพมหานคร เนื่องจากมีผู้อาศัยอยู่หนาแน่นมาก ประชากรเกือบ 10 ล้านคน หากไม่ได้จัดเตรียมแผนฉุกเฉินสำรอง ย่อมเกิดความโกลาหลและความยากลำบากต่อพี่น้องประชาชนอย่างยิ่ง ตอนพิมพ์อยู่ก็ได้ข่าวมาตามที่คาดไว้อีกแล้ว ขอให้ส่งแชร์ด่วนที่สุดครับ

ขอเริ่มที่ [ภาคประชาชน] อย่างพวกเรากันก่อน

          - เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ในกรณีที่เกิดน้ำท่วมรุนแรงที่สุดเอาไว้ก่อน แต่ละบ้านแต่ละครอบครัวปรับแผน รับมือเป็นลำดับ(ตามสถานการณ์ ตามพื้นที่ ตามความพร้อม)

          - วิเคราะห์ก่อนว่าบ้านของเราเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมแค่ไหน หากท่วมน้ำจะมาทางด้านไหนของเมือง น้ำไหลเข้าบ้านจากจุดไหนได้บ้าง ติดตามข่าว ปรับระดับการเตรียมพร้อม

          - กันน้ำเข้าบ้านเรือน

          - นำข้าวของเก็บขึ้นที่สูง เก็บของมีค่า และเอกสารสำคัญเอาไว้เป็นหมวดหมู่

          - จัดระเบียบ จัดเตรียมอาหารน้ำของใช้จำเป็นต่อชีวิตเอาไว้ใกล้มือ ใกล้ตัว

          - หากมีเครื่องกรองน้ำ มีภาชนะขวดใส่น้ำได้ ให้กรอกน้ำดื่มสะอาดเตรียมเอาไว้ก่อน ให้มากที่สุด

          - อาหารเตรียมเอาไว้ สำรองให้ได้ 1 เดือน ไม่จำเป็นต้องเป็นมาม่า ปลากระป๋อง ลองคิดให้แตกต่างดู อาหารที่ชอบจะได้ไม่เครียดเกินไป

          - ยาประจำตัว เน้นยาแก้น้ำกัดเท้า ผื่นคัน แก้ไข้

          - หาอุปกรณ์ชูชีพ แพสำหรับทุกคนในบ้าน ในกรณีที่อาจต้องออกมาภายนอกบ้านหรืออพยพ ซึ่งอาจทำเองจากขวดน้ำพลาสติก

          - จัดหาวิทยุที่ใช้ถ่านไฟฉายมาเอาไว้สำหรับฟังข่าวสาร หากไม่มีไฟฟ้า

          - นำรถไปจอดในที่สูง

          - เตรียมหนังสือดี ๆ เอาไว้อ่าน หนังสือธรรมมะ เพลงเพราะ ๆ เพื่อปรับอารมณ์ไม่ให้เครียด

          - หากมีเวลาและความสามารถพอ ปลูกต้นไม้กินใบง่าย ๆ ปักชำใส่กระถางแขวนเอาไว้ แยกเอาไว้ให้มากที่สุด

          - วางแผนอพยพ คิดหาข้อมูลสถานที่ที่ใกล้ที่สุด รวมทั้งวิธีการเดินทาง การเคลื่อนย้าย

          - หากเกิดน้ำท่วม ฝึกที่จะคิดในแง่บวก มองโลกในแง่ดี อย่าใช้อารมณ์กันในบ้าน เพราะจะทำให้บดบังสติปัญญาในการแก้ปัญหา

          - เอื้อเฟื้อ แบ่งปันกันในครอบครัว  ช่วยเหลือเพื่อนบ้าน เตือนเพื่อนบ้านให้เตรียมตัวเอาไว้ จำเอาไว้ว่าหากคนรอบข้างคุณลำบาก นั่นคือเราทุกคนลำบากด้วยต้องช่วยกัน ความหวัง ความเชื่อมั่น การมองโลกในแง่ดีจะช่วยให้ผ่านพ้นเหตุการณ์ไปได้ครับ ขอให้ปลอดภัย


[ภาคของวัด (โบสถ์ มัสยิด)]

          - เนื่องจากทุก ๆ คนเดือดร้อนกันไปหมด จนบางครั้งเราปล่อยปละละเลย หรือหลงลืมนึกถึงวัดและพระ และหลายต่อหลายครั้งยามยาก วัดนี่ล่ะที่เป็นที่พึ่งพิงในยามเกิดภัยพิบัติ

           - ถวายข้อมูลให้พระท่านได้ทราบและเตรียมการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยพระท่านเตรียมขนของขึ้นที่สูง

           - ช่วยกันป้องกันเขตศาสนสถานสำคัญ

           - ช่วยพระท่านจัดเตรียมอาหารเสบียงในโรงครัว โรงทานของวัด

           - ช่วยพระท่านจัดเตรียมสถานที่ศาลาการเปรียญ หากวัดมีความพร้อมในการช่วยเป็นที่พึ่งพิงต่อชุมชน กรณีที่สามารถจัดตั้งเป็นศูนย์อพยพได้

           - ช่วยพระท่านจัดของสังฆทานที่มีอยู่ให้เป็นระเบียบ เพื่อสามารถนำมาใช้ได้ทันที

           - รีบส่งข่าวนี้ให้พระท่านทราบโดยเร็วที่สุดครับ

[ภาครัฐ ถ้าจะกรุณาและเป็นไปได้]

           - ใช้แรงงานจากทุก ๆ ทัณฑสถานทำกระสอบทรายและส่งมาช่วยภายนอก

           - เร่งจัดตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือแหล่งอาหาร น้ำสะอาด โดยขอความร่วมมือจากภาคเอกชน

           - เร่งประกาศจัดตั้งศูนย์อพยพ โดยขอความร่วมมือจากภาควัดและเอกชน

           - ปิดกั้น ป้องกันน้ำท่วมเน้นที่จุดสำคัญต่อการให้ความช่วยเหลือประชาชน และต่อการสื่อสาร การประสานงานจริง ๆ

           - ขอความร่วมมือเอกชนในการเอื้อเฟื้อสถานที่เปิดใช้พื้นที่เป็นศูนย์อพยพโดยเร็ว

           - มาตราการขั้นเด็ดขาดต่อผู้ทำลายซ้ำเติมผู้เดือดร้อนและประสพภัย เพื่อไม่ให้เกิดการจราจล การปล้นชิง โขมยและอาชญากรรม

           - ระดมสรรพกำลังเพื่อการให้ความช่วยเหลือ "ชีวิตของประชาชน" ก่อน

           - ระดมความช่วยเหลือจากภูมิภาคใกล้เคียงที่ยังไม่เกิดภัยพิบัติ






ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : Kapook.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น