วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

15 จุดในกรุงเทพเสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก !!!!!

ในฐานะที่เป็นคนกรุงเทพ ดูข่าวน้ำท่วมอยู่ทุกวัน พอเห็นข่าวออกว่าน้ำจะท่วมถึงกรุงเทพ ก็แตกตื่นไม่น้อย(ตอนนี้ยกเคสขึ้นที่สูงแล้วด้วยซ้ำ)

เชื่อว่าหลายๆคนเองก็กังวลเหมือนกัน ว่าจะท่วมถึงบ้านเรามั้ย จะท่วมเยอะมั้ย

ก็เลยเอาข่าวมาบอกกัน มาดูกันสิว่า จะมีพื้นที่ใกล้บ้านเรามั้งมั้ย (สาธุ~อย่ามาเลย)

นายสัญญา ชีนิมิต ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า "จากการสำรวจพื้นที่ชั้นในกรุงเทพมหานคร พบว่ามี 15 พื้นที่ที่เป็นจุดอ่อน และเสี่ยงต่อน้ำท่วมถ้าปริมาณน้ำฝนและน้ำเหนือมาพร้อมกัน และน้ำทะเลหนุนก็เสี่ยงจะเกิดน้ำท่วมเพราะกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ ง่ายต่อน้ำท่วมขัง"

ส่วนมาตรการน้ำท่วมได้เฝ้าระวัง สถานการณ์น้ำตลอด 24 ชั่วโมง ล่าสุดได้จัดซื้อกระสอบทรายเพิ่มอีก 1,500,000 ถุงทั้งนี้ได้ขุดลอกคลองระบายน้ำให้เร็วขึ้นดูแลประตูระบายน้ำ เครื่องสูบน้ำ สถานีสูบน้ำ รวมถึงประสานงานกับกรมชลประทาน ช่วยบริหารจัดการน้ำผ่านคลองและอุโมงค์สู่ทะเล


สำหรับจุดเสี่ยงน้ำท่วมในเขตกรุงเทพขั้นใน ได้แก่ ถ.จันทร์ , ถ.เซ็นหลุยส์ ,ถ.สาธุประดิษฐ์ , ถ.พหลโยธิน (ช่วงคลองสามเสน-คลองบางซื่อ) ,ถ.สุขุมวิท (ระหว่างพระโขนง-ซ.ลาซาล) , ถ.สุขุมวิท (ระหว่างซ.39-49) ,ถ.ลาดพร้าว (ช่วงคลองลาดพร้าว - เดอะ มอลล์ บางกะปิ) ,ถ.นวมินทร์ (ช่วงดอนอีกา-แยกประเสริฐมนูกิจ)  , ถ.รัชดาภิเษก (หน้าห้างโรบินสัน) , ถ.รัชดาภิเษก (แยกลาดพร้าว) , ถ.เพชรบุรี (แยกตัดถ.บรรทัดทอง) ,ถ.นิคมมักกะสัน , ถ.พระราม 6 (ช่วงตลาดประแจจีน) , ถ.เพชรเกษม (ช่วงซ.63) ,ถ.เย็นอากาศ (ช่วงถ.นางลิ้นจี่) ,ถ.ศรีนครินทร์ (ช่วงคลองตาสาด-คลองตาช้าง) , ถ.สนามชัย

หวังว่าคงจะไม่มีบ้านใครนะ หากมีอัพเดทมากกว่านี้ จะเอามาลงอีกนะ

ทุกคน ระวังตัวกันให้เยอะๆล่ะ เตรียมตัวกันให้ดีๆนะ




ขอขอบคุณ ข้อมูลการตรวจสอบจาก http://www.bangkokbiznews.com

20 ประการ เตรียมบ้านให้พร้อมก่อนน้ำท่วมใหญ่ ตอนที่ 1

บทความนี้ขอเสนอออออออ "บัญญัติ 20 ประการ เตรียมบ้านก่อนน้ำท่วม" โดย อ.ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์...

และจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงคำพูด หรือเสริมเติมแต่ง แต่อย่างใด เพราะผู้เขียนที่ SmiLelY ไปเอาของท่านมา ท่านเขียนมาจากข้อมูลและความรู้ ซึ้งท่านบอกว่ามิใช่เป็นบทความที่สมบูรณ์ที่สุด แต่ต้องการเขียนขึ้นในฐานะของคนไทยคนหนึ่งที่ต้องการเป็นประโยชน์กับผู้อื่นในสภาวะวิกฤติของบ้านเมืองบ้าง โดยหวังว่าอาจจะ “ลดความทุกข์” ให้สังคมได้ส่วนหนึ่ง แม้เป็นส่วนเล็กน้อยก็ตาม

SmiLelY เองก็เห็นประโยชน์จากบทความนี้เช่นกัน เพราะงั้นเลยขออนุญาตนำมากระจายต่อ ทั้งหมดมี 20 ข้อ และอาจจะเพิ่มขึ้นอีก แต่ในนี้ขอลง 5 ข้อก่อนนะจ้ะ เพราะยาวมากเลย ส่วนที่เหลือจะค่อยๆทยอยเอามาลงนะจ้ะ แบ่งๆตอนอ่าน ตาจะได้ไม่ลาย แหะๆ


มาเริ่มกันเลยนะ

1. ดูทางน้ำที่จะมาสู่บ้านเรา แล้วจะไปทางไหนได้บ้าง      

ขอให้คิดว่า เราเหมือนกำลังตั้งค่ายคูประตูหอรบอยู่ เราต้องรู้ว่าข้าศึกจะเข้ามาโจมตีเราทางทิศใดได้บ้าง และหากเกิดความพลาดพลั้งขึ้นมา เราจะหนีไปทางไหนได้บ้าง ซึ่งข้าศึกอาจจะเข้ามาตีเราหลายทางก็ได้ และเราก็อาจจะมีทางหนีไปหลายทางก็ได้ บางครั้งข้าศึกไม่ได้มาตีแค่ 2-3 ทาง แต่ทำการ “ล้อม” เราเอาไว้ทุกด้านก็ได้ ทำให้ทางหนีของเราถูกปิดกั้นไว้หมด 

หากเมื่อรู้แนวทางเหล่านั้นแล้ว ก็ขอให้เริ่มวางแผนที่จะ “หยุดน้ำ หยุดข้าศึกที่จะเข้ามาโจมตีเรา” ซึ่งการหยุดยั้งน้ำหรือข้าศึกนั้น มีหลายวิธีที่ต้องจัดการ ไม่ว่าจะเป็นการ “สร้างเขื่อนชั่วคราว” ด้วยกระสอบทราย หรือเอาแผ่นวัสดุใดๆ มากั้นก็ได้ การปิดกั้นนั้นมีหลายวิธี ซึ่งใช้ความเข้าใจพื้นฐาน บวกกับสอบหาข้อมูล ก็จะพอทราบกันเองได้ครับ 

2.   กำแพงบ้านไว้กันน้ำได้ แต่ต้องระวังรั้วพังนะครับ 

ตามปกติแล้ว รั้วบ้านที่เป็นคอนกรีตหรือก่ออิฐ จะเปรียบเสมือนกำแพงเมืองที่จะกันน้ำไม่ให้เข้ามาในบ้านของเรา แต่เราต้องไม่ลืมว่า น้ำหนักของน้ำที่ขังหรือถาโถมเข้ามากดที่ด้านข้างของกำแพงรั้วเรา จะทำให้รั้วบ้านของเราเกิดการเอียง แตกร้าว หรือพังลงมาได้ เพราะรั้วบ้านทั่วไป วิศวกรท่านจะไม่ได้ออกแบบไว้ให้รับแรงหรือน้ำหนักที่กระทำด้านข้างได้มากนัก

ทางป้องกันที่ง่ายที่สุดก็คือ เราหากระสอบทรายมาวางไว้อีกด้านหนึ่งของรั้วบ้านเรา (ในบ้านเรา) วางไว้ติดชิดกับรั้วไปเลย ยามเมื่อรั้วจะเอียงเพราะว่าน้ำที่ท่วมกดน้ำหนักมาอีกด้านหนึ่ง กระสอบทรายก็จะทำหน้าที่ช่วยรับน้ำหนักเอาไว้ ถ่ายแรงจากรั้วมา รั้วก็ยังตั้งตรงอยู่ได้ "กำแพงเมืองของเราก็ไม่แตก หรือล้มครืนลงมาครับผม"

3. น่าจะมี “ปืน” ไว้สู้ฝน สู้น้ำท่วม จัดการกับ “รูรั่ว”

บ้านหลายหลังที่มีรู มีรอยแตกเล็กๆ ตามผนังหรือช่องหน้าต่าง ตามรอยต่อของผนังกับเสาและคาน หรือแม้แต่ตามรั้วบ้าน ซึ่งบางครั้งเราไม่มีเวลา (หรืองบประมาณ) ที่จะแก้ไขได้ที่ต้นเหตุ จะตามช่างมาซ่อมแซมหรือ ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก หรือไม่ทันเวลาเสียแล้ว ดังนั้น เราก็น่าจะมีวัสดุอุดประสานรอยจำพวก ซิลิโคน หรือ อะคริลิค หรือ โพลี่ยูริเทน เอาไว้ เพื่ออุดรอยเหล่านี้ ซึ่งเราน่าจะทำได้ด้วยตัวเอง (โดยเฉพาะในจังหวะที่เศรษฐกิจไม่ดี หรืออยากจะฝึกตัวเองเป็นช่างบ้าง) แต่การที่เราจะใช้วัสดุ ประสานที่มีความยืดหยุ่นและอยู่ในหลอดแข็งๆนี้ได้ เราจะต้องมีอุปกรณ์การ "ฉีด" ซึ่งภาษาช่างทั่วไปเขาเรียกกันว่า "ปืน" ที่ราคาไม่แพงเลยครับ บางครั้ง ท่านอาจจะต้อง "พกปืน" ไว้ในบ้านของท่านสักชุด เพื่อช่วยเหลือตัวเองในการต่อสู้ ป้องกันน้ำไม่ให้ไหลเข้ามาในบ้านของเราครับ

4. อย่าให้ต้นไม้ล้มทับบ้าน ยามน้ำท่วมและพายุมา

ต้นไม้ทั้งหลายที่อยู่ในบ้านหรือใกล้บ้านเราจะเป็นอันตรายยามมีพายุมา เพราะต้นไม้อาจจะล้ม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นไม้ที่ล้อมจากที่อื่นมาปลูก เพราะต้นไม้เหล่านั้นไม่มี “รากแก้ว” ครับ) หรือ กิ่งต้นไม้บางประเภทที่ค่อนข้างเปราะ (เช่น ต้นประดู่กิ่งอ่อน) อาจจะหักลงมาสู่ตัวบ้านเรา ต้องทำการเล็มกิ่งหรือตัดกิ่งบางกิ่งออกไปเสีย 

ยามเมื่อน้ำท่วม ระดับน้ำใต้ดินจะสูงมาก (หรือน้ำท่วมเข้ามาได้จริงๆ) รากของต้นไม้จะแช่น้ำเป็นเวลานาน รากต้นไม้จะเน่าได้ แล้วความสามารถในการยึดเกาะกับดินก็จะน้อยลง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นไม้ใหญ่ที่ไม่มีรากแก้ว) ต้นไม้ก็อาจจะล้มลงได้ ต้องทำการค้ำยันลำต้นเอาไว้ให้ดี ก่อนน้ำจะท่วมครับ  สิ่งที่น่าคิดอีกอย่างหนึ่งก็คือเรื่องการให้ปุ๋ย ซึ่งตอนที่น้ำท่วม ห้ามให้ปุ๋ยต้นไม้ครับ เพราะจะทำให้รากเน่าเร็วขึ้น (ต้นไม้ที่โดนน้ำท่วมก็เหมือนคนป่วย เขาไม่ต้องการอาหารดีๆ (แต่ย่อยยาก) ครับ ขอให้หายป่วยเสียก่อนค่อยกินอาหารดีๆ เยอะๆได้ครับ)

5. ตรวจสอบถังน้ำใต้ดิน 
บ้านใครมีถังน้ำใต้ดิน ต้องตรวจสอบ “ฝา” ของถังน้ำให้ดีๆ เพราะเวลาน้ำท่วม ถังน้ำจะอยู่ใต้น้ำด้วย หากฝาของถังน้ำมีระบบป้องกันน้ำเข้าไม่ดี น้ำสกปรกที่ท่วมเข้ามา ก็จะไปปนกับน้ำสะอาดในถังน้ำของเรา ปัญหาเรื่องโรคภัยต่างๆ ก็จะตามเข้ามาหาตัวเราโดยทันทีครับ

หากเราไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องน้ำเล็ดลอดเข้ามาในถังของเราได้ ก็ขอให้ต่อท่อน้ำตรงจากท่อประปาหน้าบ้านเรา เข้ามาที่ตัวบ้านของเราเลย (โดยปกติแล้ว บ้านที่มีถังน้ำใต้ดินจะมีวาล์วหมุนเปิดทางให้น้ำประปาจากหน้าบ้านเรา วิ่งผ่านตรงเข้ามาในบ้านโดยไม่ลงไปที่ถังน้ำใต้ดินได้ ต้องหาวาล์วตัวนี้ให้เจอ แล้วต่อตรงเข้ามาเลยดีกว่า น้ำจะเบาลงหน่อย แต่ก็ยังเป็นน้ำสะอาดครับ)


ขอขอบคุณ นายยอดเยี่ยม เทพธรานนท์  สถ. ๓๔๔ ว. ตุลาคม ๒๕๕๔

เข้าห้องน้ำสาธารณะอย่างปลอดโรค!!!

เรื่องน่าสนใจในบทความนี้ หามาเสนอเพราะกังวลใจกับอาสาสมัครที่ลงไปช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม และตัวผู้ประสบภัยเอง

นอกจากจะเจอภัยน้ำท่วมแล้วก็ไม่อยากให้เจอกับโรคร้ายๆด้วย

เพราะเวลาน้ำท่วมแบบนี้ เชื้อโรคต่างๆมันเจริญเติบโตง่าย แล้วก็มีโอกาสติดได้ง่ายด้วย

วันนี้ก็เข้าเรื่องพื้นฐาน แต่เป็นเรื่องใหญ่ของคนเรามาลงก่อนเลย

น.พ.เชิดพงษ์ ชินวุฒิ สูติ-นรีแพทย์ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช สาทร-คอนแวนต์ เผยว่า "เชื้อโรคที่มักพบในห้องน้ำสาธารณะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ เชื้อในกลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เชื้อหนองใน เชื้อเริม และเชื้อที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น เชื้ออุจจาระร่วง เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด เอ เป็นต้น" 

แต่ละโรคน่ากลัวใช่เล่นเลยนะเนี่ย อย่างนี้ต้องระวังหน่อยล่ะ

เรามาดูกัน ว่าเชื้อพวกนี้จะอยู่ที่ไหน จะได้ระวังได้ถูก

เชื้อพวกนี้อาจแฝงอยู่ตามจุดต่างๆ ของห้องน้ำ เช่น ชักโครก อ่างล้างมือ หรือแม้กระทั่งลูกบิดประตู

จะเห็นได้ว่าเป็นจุดที่ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายเราต้องสัมผัสอย่างเลี่ยงไม่ได้ น่ากังวลใช่มั้ยล่ะ

แต่ไม่ต้องเป็นห่วงหรือกังวลเกินไปจนไม่ยอมเข้า เดี๋ยวกระเพาะปัสสวะอักเสบกันพอดี 

ที่บอกว่าไม่ต้องกังวลเกินไปก็เพราะว่า โอกาสที่เราจะติดเชื้อพวกนี้จนทำให้เกิดโรคหรือเป็นอันตรายนั้นน้อยมาก หรือแทบเป็นไปไม่ได้เลย ด้วยเหตุผลที่ว่า

1. เชื้อพวกนี้จะสามารถก่อให้เกิดโรคได้ ต้องมีปริมาณที่มากพอ เราอาจไปสัมผัสกับเชื้อพวกนี้ก็จริง แต่ปริมาณไม่มาก จึงไม่เกิดอันตรายใดๆ

2. เชื้อพวกนี้มักจะเจริญเติบโตได้ดีในร่างกายคนเรา แต่เมื่อออกมาสัมผัสกับแสง และอุณหภูมิภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป เชื้อมักจะมีชีวิตอยู่ไม่นานพอที่จะติดต่อไปสู่คนอื่น

3. เชื้อพวกนี้จะก่อให้เกิดโรคได้ ต้องมีหนทางที่จะผ่านเข้าไปในร่างกายของคนเรา เช่น ผ่านเข้าทางผิวหนังที่มีแผล หรือรับเข้าทางปาก การที่เราไปสัมผัสและเชื้อนั้นติดอยู่กับผิวหนังเฉยๆ จะไม่ทำให้เกิดโรค เพราะผิวหนังเป็นปราการด่านแรกที่ป้องกันการติดเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้เป็นอย่างดี (เพราะงั้นอย่าได้เอามือเข้าปากสุ่มสี่สุ่มหาเชียว)

4.หากได้รับเชื้อเข้าไปจริง ร่างกายของเรามีระบบภูมิคุ้มกันที่คอยจัดการเจ้าเชื้อโรคแปลกปลอมนี้อยู่แล้ว 

และ น.พ.เชิดพงษ์ แนะนำวิธีปฏิบัติตัวแบบง่ายๆ เพื่อป้องกันการรับเชื้อโรคจากการเข้าห้องน้ำสาธารณะไว้ว่า "ใช้เวลากับการทำกิจธุระในห้องน้ำสาธารณะให้สั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถ้าจำเป็นต้องใช้ชักโครก เลือกที่ดูสะอาด ทำความสะอาดที่รองนั่งด้วยกระดาษทิชชูสักหน่อย แล้วจึงใช้งาน ไม่ต้องถึงกับใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ"

ทำตามที่นายแพทย์ท่านบอกก็น่าจะหมดห่วงไปได้แล้วล่ะนะ อ่อ!อย่าลืมล้างมือก่อนออกจากห้องน้ำด้วยล่ะ แล้วพอกลับถึงบ้านก็ทำความสะอาดให้ดีนะ



ขอขอบคุณ : yenta4.com

ข่าวจาก UniDog [2] น้องหมาหาบ้าน!!

มาอีกแล้วจากบทความช่วยน้องหมา คราวนี้หาผู้ใจบุญ อยากจะรับเขาไปดูแล

พวกเขายังต้องการความอบอุ่นจากคนที่เขารู้สึกว่าเป็นครอบครัวนะจ้ะ

มาดูรูปน้องหมากัน น่ารักนะจะบอกให้


ใครสนใจติดต่อได้เลยจ้า ที่


โดยคุณนู๋ มิ้งค์ เองจ้า
หาบ้านด่วนค่ะ ติดต่อ ‎0800812820





ขอบคุญ : http://www.facebook.com/unidog

25 เคล็ดลับการเลือกซื้อกล้องดิจิตอล !!!!!


ดีจ้า คราวที่แล้วเราทำความรู้จักเลนส์คิทและดูรูปที่ถ่ายกันไปแล้ว

หลายๆคนที่ยังไม่มีกล้องเป็นของตัวเองก็เริ่มสนใจแล้วใช่มั้ยล่ะ

เชื่อเลยว่าต้องมีคนคิดอยากจะซื้อแน่นอน ต้องมีล่ะที่เข้า google ไปหาดูนิดหน่อย

งันวันนี้ขอยกบทความวิธีการเลือกซื้อกล้อง มาฝากหน่อยล่ะกัน อย่าเสียเวลาๆ มาเริ่มกันเลยล่ะกัน

1. กำหนดงบประมาณ (สำคัญมาก)

เรื่องนี้ก็เหมือนกับการเลือกซื้อของทุกอย่าง ที่ต้องรู้ก่อนว่าเรามีงบเท่าไร เพราะถ้าไม่กำหนดล่ะก็เวลาไปเลือก มันต้องมีกล้องตัวที่ดีกว่า สวยกว่า และอาจจะแพงกว่า ที่เราสนใจก่อนหน้านั่นอยู่แล้ว ถ้าไม่อยากกระเป๋าฉีกก็กำหนดไว้ซะ สำหรับมือใหม่ แนะนำให้มองหากล้องที่ราคาถูกหน่อย มีฟังก์ชั่นมากพอ, น้ำหนักเบา, จับถนัดมือ พอคุ้น พอถนัดกับกล่องประเภทนี้แล้วค่อยเปลี่ยนก็ยังไม่สาย ดีกว่าซื้อแพงๆมาแล้วใช้ไม่คุ้ม

2. อย่าหลงเชื่อ ดิจิตอล ซูม

เข้าใจง่ายๆ ดิจิตอลซูมก็คือ การซูมสมมุติที่ระบบดิจิตอลทำให้ ไม่ใช่ความสามารถของเลนส์จริงๆ ความแตกต่างก็คือ ดิจิตอลซูม จะเป็นการซูมที่ทำให้ภาพไม่คมชัด และอาจจะมีเม็ดสีขึ้นเต็มภาพ เพราะฉะนั้นให้เลือกดูที่ออฟติคอลซูมที่สูงที่สุดเท่าที่งบอำนวยดีกว่า (ยิ่งซูมได้มาก ก็สามารถดึงภาพเข้ามาได้ใก้ลมากขึ้น, สามารถยืนได้ห่างจะสิ่งที่ต้องการจะถ่ายได้มากขึ้น)
 
3. มีอยู่ 2 อย่างที่ต้องพิจารณาก่อนซื้อ

นั่นก็คือ "เมมมอรี่การ์ด" กับ "แบตเตอรี่" เราคงไม่อยากจะซื้อกล้องที่มันใช้การ์ดเมมต่างจากชาวบ้านชาวช่องเขาหลกจริงมั้ย? เพราะนอกจากเสียเงินซื้อกล้องแล้ว ยังจะต้องซื้อตัวอ่านการ์ดอีกต่างหาก เอาเป็นว่าแนะนำให้หากล้องที่ใช้ CF การ์ด ส่วนแบตเตอรี่ ก็เช่นเดียวกัน คงไม่มีใครอยากมีที่ชาร์ตแบตแบบหลากชนิดเต็มบ้านหรอก
 
4. อย่าดูที่ขนาดของกล้องเพียงอย่างเดียว

ต้องบอกว่ากล้องดิจิตอลสมัยนี้ "จิ๋วแต่แจ๋ว" แม้จะเล็กแต่คุณสมบัติไม่แพ้กล้องระดับมืออาชีพเหมือกัน
 
5. ระวังโปรโมชั่น!!

กล้องที่มาพร้อมกับโปรโมชั่น แถมนู่น นี่นั่น มีการ์ดให้ พร้อมขาตั้ง มีกระเป๋า สารพัด มันก็ดีอยู่หรอกสบายกระเป๋าไปได้หน่อย แต่อย่าลืมมองที่คุณภาพของกล้องด้วย อย่าให้ของแถมมาหลอกจนหลงซื้อกล้องที่ไม่ตรงกับความต้องการ
 
6. ตรวจสอบความสามารถในการซูมให้แน่ใจ

บางทีคุณอาจจะเคยเห็นโฆษณาบอกว่ากล้องนี้ซูมได้ 10x (10 เท่า) เห็นอย่างนี้ก็ต้องถามให้แน่ว่า 10x เนี่ยเป็นออพติคอลซูมกี่x และ ดิจิตอลซูมกี่x เพราะที่บอกมักจะเอาสองอย่างนี้มารวมกัน ฉะนั้นให้สนใจที่ออพติคอลซูม  ดิจิตอลซูมไม่ต้องสน
 
7. ดูภาพตัวอย่างก่อนซื้อ
ข้อดีของกล้องดิจิตอลทั้งหลายก็คือมันสามารถพรีวิวภาพที่ถ่ายได้ในช่องมองภาพ LCD ตรงนี้ที่จะต้องดูว่ามันใหญ่พอสำหรับเราหรือเปล่า (ยิ่งใหญ่มากก็เปลืองแบตมากนะเออ) และสามารถขยายภาพดูได้หรือเปล่า ขยายดูสัก 100% จะได้เช็คได้ว่ากล้องถ่ายได้ชัดเท่าที่ต้องการหรือเปล่า
 
8. มีไมโครโฟนในตัวหรือเปล่า
อย่ามาทำหน้าสงสัยว่าจะเอาไปทำไม ก็ในเมื่อซื้อกล้องสักตัวถึงเราจะเน้นไปถ่ายภาพนิ่ง สิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเราสามารถใช้กล้องบันทึกเสียง และ สามารถบันทึกภาพวิดีโอสั้นๆ ได้เช่นกัน
 
9. ปริมาณพิกเซลที่แท้จริง 
ถ้ากล้องที่เราสนใจบอกว่ามี 10 megapixel และใช้เทคโนโลยี Foveon x3 ให้เอา 3 หาร 10 นั่นแปลว่ากล้องตัวนั้นมีพิกเซลที่แท้จริงเพียง 3.3 megapixel เพราะเทคโนโลยี Foveon x3 คือการจำลองพิกเซล
 
10. ความจุภาพ
เมื่อตัดสินใจซื้อกล้องแล้วก็เตรียมเงินซื้อการ์ดแมมไว้ด้วยเลย เพราะยังไงที่เขาแถมมาก็มักจะไม่ค่อยพอกับความต้องการอยู่แล้ว
 
11. มีโปรแกรมถ่ายภาพกลางคืน
มีกล้องเป็นของตัวเองแล้ว จะอย่างไรก็คงต้องมีโอกาสได้ถ่ายภาพในสภาพแสงน้อย หรือถ่ายตอนกลางคืนแน่ๆ เพราะฉะนั้นก็ดูเลยว่ากล้องตัวที่สนใจมี ISO สูงสุดเท่าไร (สูงไว้ก่อนดี เพราะยิ่งมืดก็ยิ่งต้องใข ISO สูงๆ), มีระบบป้องกันภาพสั่นไหวหรือเปล่า, มีโหมดถ่ายภาพกลางคืนให้มั้ย
 
12. อย่าไปยึดติดกับเมก้าพิกเซล
ยิ่งเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น กล้องก็โฆษณาว่ามีจำนวนเมก้าพิกเซลมากขึ้น ทั้งที่ในความเป็นจริงมีจำนวนเมก้าพิกเซลเยอะๆ ก็ใช่ว่าจะได้ภาพที่ชัด และยิ่งถ้าเราแค่จะถ่ายภาพแล้วอัดรูปแค่ไม่กี่นิ้ว ก็ไม่เห็นจำเป็นต้องใช้เมก้าพิกเซลสูงๆ ลองพิจารณาสิ่งอื่นๆ ด้วยเช่น ความเร็วสูงสุด-ต่ำสุดของชัตเตอร์ (ถ่ายได้ฉับไว เช่น ถ่ายภาพคนวิ่ง), ระยะเวลาการเปิดกล้อง ใช้เวลานานเท่าไรถึงจะถ่ายได้
 
13. เผื่อเงินไว้ด้วย เพราะบางทีอาจจะไม่ใช่แค่กล้องที่ต้องซื้อ
เมื่อมีกล้องก็ต้องมีเมมการ์ดไว้เก็บภาพ, ต้องมีการ์ดรีดเดอร์เอาไว้ดูดภาพจากกล้องเก็บเข้าคอมพ์, มีที่ชาร์ตแบตกล้อง, กระเป๋ากล้อง, ขาตั้ง บางทีอาจจะต้องเพิ่มฮาร์ดดิสก์คอมพ์ด้วยซ้ำ ยังไงถ้าต้องซื้อก็ซื้อพร้อมกันกับกล้องรวดเดียวเลย จะได้ต่อรองได้ราคาพิเศษ
 
14. ระวังของถูก
ใครๆ ก็อยากได้ของถูก นอกจากจะเตือนให้ระวังโปรโมชั่นล่อใจแล้ว แนะนำให้หาซื้อในร้านค้าที่เราไว้ใจหรือคุ้นเคย(ที่ศูนย์ได้ยิ่งดี) เพราะจะได้ไม่ถูกหลอกย้อมแมวขายแล้ว ยังอุ่นใจเรื่องบริการหลังการขายได้อีกด้วย
 
15 โหมดถ่ายภาพต่างๆ
โหมดถ่ายภาพอัตโนมัติ อาทิ ถ่ายกลางคืน, ถ่ายภาพบุคคล, ถ่ายภาพกีฬา, ถ่ายพลุ ฯลฯ เหล่านี้ต้องมี เพราะจะทำให้การถ่ายภาพของสะดวก และสนุกขึ้น
 
16. มีแฟลชในตัวหรือเปล่า
มันเป็นอุปกรณ์พื้นฐาน เพราะฉะนั้นควรจะเลือกที่มีแฟลชในตัว ไม่งั้นจะถ่ายภาพกลางคืนได้ไง
 
17. กล้องเก่าอย่าทิ้ง
ได้ใหม่อย่าลืมเก่า ของเก่ามีประโยชน์ ลองเอาไปให้ พ่อแม่ญาติพี่น้องใช้, เก็บไว้ใช้ในกรณีที่ตัวใหม่มีปัญหา, เอาไปบริจาค(ได้บุญอีก) หรือไม่ก็เอาไปเทิร์นเปลี่ยนเป็นเมมการ์ด ฯลฯ
 
18. ออฟติคอล ซูมเท่าไรถึงจะพอ
สงสัยใช่มั้ยว่าตกลงจะเลือกซื้อกล้องที่มีจำนวน ออพติคอลซูมเท่าไรถึงจะพอ มีข้อแนะนำว่าถ้าจะเอาไปใช้ถ่ายคนเป็นหลัก เช่น ถ่ายเพื่อนๆ ในงานปาร์ตี้ เลือกซื้อสัก 2x, 3x ก็พอ แต่ถ้าเน้นถ่าย outdoor ถ่ายวิว ถ่ายตึกก็ต้อง 5x ขึ้น แต่ถ้าต้องการใช้ถ่ายภาพที่เคลื่อนไหวที่ความเร็วสูง เช่น ถ่ายภาพคนวิ่ง รถแล่น สัตว์วิ่ง ก็ต้อง 7x ขึ้นไป อย่าลืมนะว่าต้องดูที่ ออพติคอลซูมเท่านั้น!!
 
19. มีช่องต่อขาตั้งกล้องหรือเปล่า
เผื่อว่าจะต้องใช้ตั้งกล้องภ่ายภาพ เช่น ตั้งเวลาถ่าย, ตั้งถ่ายพลุ แต่ไม่มีช่องสำหรับต่อขาตั้งกล้องแล้วจะทำอย่างไรล่ะ ดูให้ดีๆนะ
 
20. ลองเปรียบเทียบราคาในเนตดูก่อนซื้อ 
เป็นอีกหนทางหนึ่งสำหรับคนฉลาดซื้อ ขยันเข้าอินเตอร์เนตเช็คราคาร้านนู้นร้านนี้ ก่อนจะตัดสินใจซื้อ หรือเดินเล่นดูหลายๆ ร้าน ถามราคาก่อนเลือกซื้อ
 
21. ลองอ่านรีวิว ที่เขาแนะนำดูด้วย
ทั้งในเนต และนิตยสารเกี่ยวกับกล้องทุกฉบับ มีการรีวิวทดสอบกล้องให้คุณได้เลือกอ่านอยู่แล้ว ลองอ่านดูเสียหน่อย แม้ว่าจะมีศัพท์เทคนิค ที่ไม่เห็นจะรู้เรื่อง แต่ก็เอาเถอะ เผื่อว่ามันจะมีข้อมูล ที่เราพอจะเข้าใช้แล้วนำไปใช้ในการตัดสินใจซื้อ
 
22. ยิ่งมีเมก้าพิกเซลเท่าไรก็ยิ่งดี?
แนะนำไปว่าเมก้าพิกเซลไม่ใช่สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อกล้อง มีมากไปก็ราคาแพง แถมยังไม่ได้ใช่ถ้าหากต้องการแค่ซื้อกล้องแล้วนำมา print รูปขนาด 8x10 ขอบอกเลยว่าให้หากล้องสัก 5 megapixel ก็พอ มากกว่านี้ถือว่าไม่จำเป็น น้อยกว่านี้ก็จะได้คุณภาพรูปที่ไม่เพียงพอ
 
23. ยิ่งมีฟังก์ชั่นมากเท่าไรยิ่งดี?
สำหรับมือใหม่มากๆ ลองมองหากล้องที่มีฟังก์ชั่น full control หรือโหมดอัตโนมัติแบบที่คุณกดชัตเตอร์อย่างเดียว คำนวนทุกอย่างให้เสร็จสรรพ อย่าลืมหาที่ไวท์บาลานซ์และไอเอสโอเป็นออโต้ด้วย จะทำให้ถ่ายง่ายขึ้นอีกเยอะ แต่ใช้ว่าจะลอง DSLR ไม่ได้นะ ยังไงก็ไม่ได้ยากเกินความสามารถคนอนู่แล้ว
 
24. กันน้ำได้ไหม
คงจะไม่ได้หมายถึงเอากล้องไปถ่ายใต้น้ำหรอก แต่เผื่อว่ามันจะหลุดมือพลัดตกน้ำ หรือตากฝน
 
25. มี ISO ต่ำสุด สูงสุด เท่าไร
ไอเอสโอ สูงๆ ทำให้คุณถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยได้ดี แต่มันก็ทำให้ภาพเกิดน้อยซ์ "noise คือภาพเป็นเม็ดสีเล็กๆๆๆ" กลับกัน ไอเอสโอต่ำๆ ก็ใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์ มันจะทำให้ภาพของคุณชัดใสมากขึ้น ลองมองหาไอเอสโอสัก 50 และใช้ถ่ายในที่แสงจัดๆ จะได้ภาพที่ชัดสวยมาก

เป็นไงๆได้แนวทางการเลือกซื้อไปแล้วนะ อ่านกันให้มึนไปเลย (ฮา) เอาเป็นว่าหากยังสงสัยอะไรก็ถามมาได้เลยนะ จะตอบให้จ้ะ

สิ่งสำคัญที่สุดในการเลือกกล้องสักตัว ไม่ใช่ราคา ไม่ใช่ความสารถ บางทีแค่เราชอบมัน ต่อให้มีกล้องที่ดีกว่ามาว่างตรงหน้าแต่เราไม่ชอบ ยังๆเราก็ไม่เอาอยู่ดี เพราะฉะนั้นจะซื้อกล้องสักตัวเรื่องมากได้ แต่เอาที่เราชอบเป็นดีที่สุด


หวังว่าบทความนี้คงจะมีประโยชน์นะจ้ะ แล้วเจอกันบทความหน้าจ้า บะบายยยย







ขอขอบคุณ :  http://stonezoup.exteen.com/20080114/entry